วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557



ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์




1. จอภาพ
 จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ (Output) มีรูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ สามารถแสดง ผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
2.เมาส์

เม้าส์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้


3.คีบอร์ด
คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ 


4. เคส
เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU  เมนบอร์ด การ์ดจอฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น




5.ฮาร์สดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษhard disk drive) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง


6.พาวเวอร์ซัพพลาย
เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย



7.แมนบอร์ด

 เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม
8. แรม
แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม [1] (อังกฤษrandom access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทปหรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว



9. ซีพียู
CPU หรือ Central Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์




10.การ์ดจอ
 การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)
11. ไดรฟ์ดีวีดี

DVD เป็นเทคโนโลยี optical disc ด้วยความจุ 4.7 กิกะไบต์บนด้านเดียว ดิสก์ 1 ชั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับภาพยนต์ 133 นาที DVD สามารถเป็น 1 ด้านหรือ 2 ด้าน และสามารถมี 2 ชั้นบนแต่ละด้าน หรือ 2 ด้าน DVD 2 ชั้น จะสามารถบรรจุ 17 กิกะไบต์ของวิดีโอหรือออดิโอ หรือสารสนเทศอื่น เปรียบเทียบกับ 650 เมกกะไบต์

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่ 1 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

1. หน่วยรับข้อมูล

   หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) คือ หน่วยเริ่มต้นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพราะ มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ  เข้าไปในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

    อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับข้อมูลเข้า Input Unit

   -คีย์บอด ( Keyboard ) คือ อุปกรณ์รับข้อมูลที่ใช้การเรียงตัวของปุ่ม ซึ่งแต่ละปุ่มทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิทช์อิเล็กทรอนิกส์โดยปกติ แล้วคีย์บอร์ดใช้สำหรับพิมพ์ตัวหนังสือ หรือตัวเลขเข้าไปยังโปรแกรมต่างๆ


   -เม้าส์ ( Mouse ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์


   -สแกนเนอร์ ( Scenner ) คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้



   -เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์ ( Optical Character Reader ) คือ อุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลประเภทตัวอักษร หรือสัญลักษณ์พิเศษจากหน้ากระดาษเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยตรง (ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลด้วยคีย์บอร์ด) นอกจากจะทำให้รวดเร็วในการป้อนข้อมูลแล้วยังช่วยลดความผิดพลาดลงไปได้มาก

2. หน่วยประมวลผลกลาง
      
   หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) คือ หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์  แบ่งออกเป็น 2 หน่วย

   หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ


- หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร


3. หน่วยความจำ 
    
   หน่วยความจำ  (Memory  Unit)  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียม ส่งไปยังหน่วยแสดงผล เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ ประเภท คือ     

   1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  
   -รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป

  

   -แรม (Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที


   
   2) หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำ(External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่

   -ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย


  
   -แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น


   -แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบันแผ่นดีวีดี  (DVD )เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ 


   -ยูเอสบี (USB หรือ Universal Serial Bus) คือ ระบบเชื่อมต่ออนุกรมความเร็วสูงของคอมพิวเตอร์  
ซึ่งเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ I/O (Input/output devices) อื่น ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น Printer, Modem, Mouse, Keyboard, Digital Camera และอื่นๆ อีกมากมายคะ โดยในปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมที่คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ควรจะต้องมี ทุกวันนี้ USB พัฒนามาถึง version 2.0 สามารถโอนถ่ายข้อมูลความเร็วสูงถึง 480 Mbps โดย USB



4. หน่วยแสดงผล
  
   หน่วยแสดงผล(Output Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลที่เตรียมไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อส่งข้อมูลหรือสื่อสารกับผู้รับโดยมีฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมายังผู้รับ ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง และสิ่งพิมพ์ ฮาร์ดทีทำหน่าที่ในหน่วยนี้มีหลายประเภทด้วยกัน ตัวอย่างเช่น จอภาพหรือมอนิเตอร์ ลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ และเครื่องแอลซีดีโพรเจคเตอร์ แต่ละประเภทจะมีลักษณะและการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน 

    -จอภาพหรือมอนิเตอร์(Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ การแสดงผล มากกว่าจอในปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิด
อาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ


   -ลำโพง ( loudspeaker  speaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง มีด้วยกันหลายแบบ คำว่า ลำโพงมักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ (driver) และลำโพงทั้งตู้ (speaker system) ที่ประกอบด้วยลำโพงและวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก)

   -หูฟัง ( headphones) เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยมีหน้าที่คล้ายกับลำโพงประกอบด้วยตัวหูฟัง จะได้ยินเสียงเมื่อนำไปครอบกับหู และไมโครโฟนขนาดเล็กในตัวสำหรับใช้สำหรับติดต่อสื่อสารเพื่อการพูดได้ เช่นทางโทรศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

   -เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นกับคุณภาพและความละเอียดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ ขนาดกระดาษสูงสุดที่สามารถพิมพ์ได้ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพิมพ์


   -เครื่องแอลซีดี โปรเจกต์เตอร์ (LCD projector) เป็นเครื่องฉายภาพจากสัญญานวิดีโอ ผ่านระบบเลนส์ไปยังฉากรับภาพ โดยใช้ไฟที่สว่างและจ้าในการฉายภาพ โดยเครื่องโปรเจกต์เตอร์รุ่นใหม่ สามารถแก้ไข ส่วนโค้งเว้า ความคมชัด ส่วนประกอบของภาพ และ อื่นๆ ด้วยการปรับโดยผู้ใช้เอง วิดีโอโปรเจกต์เตอร์ ถุกใช้อย่างกว้างขวางในการนำเสนองานในห้องประชุม ห้องเรียน หรือ แม้แต่ ใช้เป็น โฮมเทียเตอร์ โปรเจกต์เตอร์ จึงกลายเป็นที่นิยมและถูกใช้อย่างกว้างขวาง